วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิจัย


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ปริญญานิพนธ์
ของ 
ชยุดา พยุงวงษ์


เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นสวนหนึ่งของการศึกษา 
ตามหลักสูตรปริญญาการศกษามหาบบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 
ตุลาคม 2551






*******************************************************************************

บทความ

 จอแก้วกับการเรียนรู้ของเด็ก




องค์ความรู้ที่ได้รับ

  ผู้เขียน : รุจิรา จงสกุล ,วินัย ชูจันทร์ ,ยุพาวดี ตรีทิพย์ธิคุณ

        มีงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในวัย ๐ – ๖ ขวบกล่าวถึงการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในเด็กแรกเกิดจะมีการเชื่อมต่อของใยประสาทอยู่ตลอดเวลาที่เด็กได้รับการกระตุ้นโดยเฉพาะ ด้านภาษางานวิจัยสนับสนุนความจริงว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า ๒ ปี ดูแต่ทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นเวลานาน ตลอด ๖ – ๘ ชั่วโมงต่อวันเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษาจะขาดการกระตุ้นใน ขณะนั้นเนื่องจากเด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่เด็กจึงไม่ได้เรียนรู้ที่จะ สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาพเคลื่อนไหวในทีวีทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ได งานวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์,มหาวิทยาลัยอินเดียน่า และมหาวิทยาลัยเพอร์เดอร์




โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู เรื่อง การเรียนรู้นอกห้องเรียน : ส่องนกในโรงเรียน
 Learning Outside the Classroom : Birdwatching in School






ที่ได้จากการศึกษา





..........................................................................................................................................................

สัปดาห์ที่ 18

วันที่ 29 กันยายน 2556

การเรียนการสอน (เรียนชดเชย ครั้งที่ 2)

องค์ความรู้ที่ได้รับ

     1. นำเสนอการทดลองของแต่ละคน
     2. ส่งของเล่นทางวิทยาศาสตร์ และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์


สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ (แก้)


จับคู่...เสียง



อุปกรณ์           
1.)       ขวดยาคูลท์ และ ขวดนมเปรี้ยว     2.)  หิน
3.)       เรนโบว์                                         4.) ถั่วเขียว
5.)       เมล็ดข้าว                                       6.) เทปกาว กรรไกร
7.)       ฟิวเจอร์บอร์ด                                8.) กระดาษสี
วิธีทำ
1.)       ขวดยาคูลท์และ ขวดน้ำเปรี้ยวมาใส่ หิน ถั่วเขียว เมล็ดข้าว และ เรนโบว์  จากนั้นปิดฝาให้สนิท แล้วตกแต่งข้างขวด
2.)       นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดตามขนาดที่วัดไว้เพื่อใส่ขวดทั้งหมด เมื่อตัดได้แล้วก็นำมาประกอบกันให้เป็นกล่อง
3.)       นำกระดาษสีมาห่อกล่อง จากนั้นก็นำขวดทั้งหมดมาเรียงไว้ด้านในกล่อง

วิธีการเล่น
            ให้เด็กเขย่าให้เกิดเสียง จากนั้นให้จับคู่เสียงที่เหมือนกัน
สรุป

            เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ  ที่เสียงแตกต่างกันก็เพราะวัตถุข้างในมีขนาดต่างกัน



ประมวลภาพการทดลอง "เทียนไขดูดน้ำ"



ทักษะที่ได้รับ

     1. ลำดับขั้นตอนในการจัดประสบการณ์
     2. วิธีการใช้คำถามในการกระตุ้นการคิดของเด็ก 

การนำไปประยุกต์ใช้

    นำวิธีการใช้คำถามและลำดับขั้นตอนการเขียนประสบการณ์ ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคต

********************************************************************************




วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 17

วันที่ 25 กันยายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

    -  อาจารย์นัดส่งรายงานที่ไปศึกษาดูงาน ที่ จังหวัด นครราชสีมา และจังหวัด บุรีรัมย์

    - อาจารย์ให้ สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






ทักษะที่ได้รับ
    1. เทคนิคการเขียน mind map
    2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ที่เรียนมาทั้งเทอม
    3. ทักษะกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ

การนำไปประยุกต์ใช้
   1. การคิดวิเคราะห์ในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   2. การสรุปเนื้อหา โดยใช้ Mind Mapping
   

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 18 กันยายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้ให้ลงมือปฏิบัติทำ "ไข่ตุ๋น" ที่ได้เลือกจากแผนการทำ Cooking เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556

ขั้นตอนการจัดประสบกาณ์ หน่วย ไข่ตุ๋น

    1. ครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
    2. นำอุปกรณ์มาวางไว้ตรงกลาง แล้วใช้คำถาม
          -  "เด็กๆเห็นคะ ... ว่าคุณครูมีอะไรบ้าง ?"
          -  "เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะมาทำกิจกรรมอะไร  จากอุปกรณืที่เด็กๆเห็นอยู่"
          -  "เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมคะ? ไข่ตุ๋นเป็นยังไง"

   
วัสดุ / อุปกรณ์



เด็กๆตอบคำถามจากสิ่งที่เห็น

  3.  ครูสาธิตวิธีการหั่นพัก แล้วหาอาสาสมัครออกมาหั่นผักชี ต้นหอม และแครอท



 4. จากนั้นก็ลงมือทำไข่ตุ๋น ตามขั้นตอนตีไข่ ใส่ส่วนผสมต่างๆ 



   5. นำไข่ตุ๋นที่ได้ ไปใส่ในหม้อนึ่งประมาน 15 - 20 นาที หรือจนไข่สุกระหว่างรอ ครูและเด็กร่วมสนทนาเกี่ยวกับการทำไข่ตุ๋นในครั้งนี้


  6. เมื่อเวลาผ่านไป ไข่ตุ๋นก็สุกพร้อมรับประทาน จากนั้นสนทานากับเด็กว่าทำไมไข่ถึงสุก



ทักษะที่ได้รับ
    
     1. ทักษะขั้นตอนการใช้คำถามสำหรับเด็ก
     2. ทักษะการทำอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 

การนำไปประยุกต์ใช้

   1. นำเทคนิคการสอนไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคต
   2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน



   

สัปดาห์ที่ 15

วันที่ 15 กันยายน 2556

การเรียนการสอน (เรียนชดเชย ครั้งที่ 1)
องค์ความรู้ที่ได้รับ

- อาจารย์ให้คำแนะนำในตการปรับปรุงแก้ไข Blogger ของนักศึกษาแต่ละคน
- ให้นักศึกษาจับกลุ่ม เพื่อ "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย"

หน่วย...  ผัด ผัด ผัด ข้าวผัด



ประมวลภาพในขณะเรียน ..



เรื่องที่เพื่อนแต่ละกลุ่ม Present 
     
       1. หน่วย ผัด ผัด ผัด ข้าวผัด (ข้าวผัด USA)
       2. หน่วย ต้มจืด (ต้มจืด) 
       3. หน่วย ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง (ไข่ตุ๋น)
       4. หน่วย อาหารจากไข่ (ไข่เจียว)

ทักษะที่ได้รับ

    1. ทักษะการเขียนแผนประสบการณ์ที่ถูกวิธี
    2. ทักษะการคิดวิเคราะห์
    3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องรู้จักรับความคิดเห็นของผู้อื่น ฃ

การนำไปประยุกต์ใช้

    1. นำวิธีขั้นตอนการเขียนแผนไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนของวิชาอื่นที่ต้องเขียนแผน
    2. วิธีการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ เรื่อง Cooking  นำไปเป็นประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์           ในอนาคต

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14

วันที่ 11 กันยายน 2556 



** ไม่มีการเรียนการสอน **

มอบหมายให้
     
               เตรียมจัดทำรูปเล่มรายงานหลังจากการไปศึกษาดูงาน โดยให้รวบรวมรูปภาพไว้ด้วยกัน



สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 4 กันยายน 2556



** ไม่มีการเรียนการสอน **

มอบหมายให้
      
               เตรียมจัดทำรูปเล่มรายงานหลังจากการไปศึกษาดูงาน โดยให้รวบรวมรูปภาพไว้ด้วยกัน

สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 28 สิงหาคม 2556

ศึกษาดูงาน

ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ
โรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา
วันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556

วันที่ 27 สิงหาคม 2556 ณ.  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จ.นครราชสีมา







วันที่ 28 สิงหาคม 2556 ณ. โรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11

วันที่  21 สิงหาคม 2556


** ไม่มีการเรียนการสอน **

ให้ศึกษาหาข้อมูลของโรงเรียนที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน  และเตรียมงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
                      

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์    
                   http://www.lpmp.org/










สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 14 สิงหาคม 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน : 08.56 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.30 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- ให้ไปศึกษาข้อมูลของ 2 โรงเรียนที่จะไปศึกษาดูงานในวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556 คือ
       1. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
       2. โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- อธิบายรายละเอียด ที่จะต้องทำขณะไปศึกษาดูงาน โดยให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของ
   แต่ละฝ่าย 

- ตรวจ Blog 

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  1. ตั้งสมมติฐานและคาดการณ์
  2. ทดลอง
  3. บันทึกผล
  4. อภิปราย,สรุปร่วมกัน


ขั้นตอนการทดลอง

1.) นำอุปกรณ์มาวางไว้ ...... แล้วถามเด็กว่า "วันนี้ครูจะมาทำอะไร?"
2.) นำ .......ให้เด็กเล่น
3.) ให้เด็กทดลองทีละขั้นตอน





สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 7 สิงหาคม 2556


โครงการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

นักศึกษาสาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย

โครงการ "กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"

วัน พุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556


องค์ประกอบของมารยาท
     ใจต้องคิดไปในทางที่ดีงามก่อน แล้ววาจากริยาท่าทางก็จะแสดงออกมากดีตาม

ประโยชน์
    - เสริมบุคลิก
    - ประโยชน์แก่ส่วนรวม
    - ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี





* กำลังดำเนินการ*

สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 31 กรกฎาคม 2556



** ไม่มีการเรียนสอน  **

เนื่องจากอยู่ระหว่างการสอบกลางภาค    วันที่ 30 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม 2556 





***************************************************************************

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

วันที่  24 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอน
อาจารย์เข้าสอน : 09.00 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.30 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ


Project  Approach การสอนแบบโครงการ 



Project  Approach มีลักษณะ ดังนี้ ...
    1.) การอภิปราย
    2.) การนำเสนอประสบการณ์เดิม
    3.) การทำงานภาคสนาม
    4.) การสืบค้น
    5.) การจัดแสดง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

วันที่  17 กรกฎาคม 2556

           หมายเหตุ    เนื่อจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ   จึงไม่มีการเรียนการสอน  แต่อารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้  คือให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และสื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมประสบการณ์


การทดลอง

เทียนไขดูดน้ำ 


อุปกรณ์ 
    1. เทียนไข                                    2. แก้วน้ำ
    3. จาน                                           4. ถ้วยใส่น้ำ
    5. ไม้ขีด หรือไฟแช๊ก                    6. สีผสมอาหาร

วิธีการทดลอง

    1. หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้เพื่อให้น้ำมีสีที่เราใส่ลงไป (เพื่อความชัดเจนในการมองเห็น)
    2. เทน้ำที่ผสมสีลงไปในจานที่เตรียมไว้
    3. นำเทียนไปวางตรงกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
    4. นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่จนเทียนดับ แล้วสังเกตว่าน้ำรอบๆแก้วจะไหลขึ้นไปด้านในแก้ว

สรุปผลการทดลอง

       สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะ เมื่อออกซิเจนที่มีภายในกูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด  ทำให้น้ำและออกซิเจนที่อยู่ด้านนอกจะถูกดันเข้าไปแทนที่อากาศข้างในแก้ว
         
********************************************************************************

สื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมประสบการณ์

สัตว์เลื้อยคลาน


อุปกรณ์ที่ใช้
     1. แถบกระดาษขนาด 1 x 11 นิ้ว   1 แถบ       2. กรรไกร               3.ปากกาเึคมีสีดำ
     4. ไม้บรรทัด                                                  5. เทปกาวใส          6. ด้ายทักโครเชต์เบอร์ 10
     7. ไหมพรมทักนิตติ้ง

วิธีการทำ
   1. พับแถบกระดาษทบครึ่ง 4 ครั้ง โดยจับปลายด้านสั้นทบเข้าหากัน เสร็จแล้วคลี่กระดาษออก

   2.ตัดปลายด้านหนึ่งของแถบกระดาษทิ้งไป 2 ช่อง
   3. พับแถบกระดาษใหม่อีกครั้งให้เป็นรอยจีบเหมือน แอ็กคอร์เดียน ตลอดความยาวของกระดาษ 

   4. จับกระดาษที่ทบเสร็จเรียบร้อย  แล้ววาดเส้นโค้ง 2 เส้นกับเขียนจุด 12 จุด  ที่ช่องปลายด้านหนึ่งตามตัวอย่าง  ช่องนี้จะสมมติเป็นหัวของหนอน จุด 12 จุดแทนลูกตาที่บนหัว

  5. พับตามแนวเส้นโค้งทั้ง 2 เส้นที่วาดบนกระดาษ ตัดให้ทะลุกระดาษทุกชั้นที่พับทบไว้
  6. คลี่กระดาษออก แล้วเขียนหมายเลขกำกับลำตัวแต่ละท่อนโดยเริ่มจากช่องที่อยู่ติดกับหัว จาก 1 -13
  7. ตัดด้ายทักโครเชต์ยาว 2 นิ้ว 3 เส้น และไหมพรมยาว 1.25 นิ้ว 3 เส้น
  8. ใช้เทปใสแปะด้ายถักพาดขวางบนลำตัว 3 ท่อนแรกท่อนละเส้น  สมมติว่าด้ายถักนี้เป็นขาจริงๆ ของหนอน
  9. ใช้เทปใสแปะเส้นไหมพรมพลาดขวางบนลำตัวท่อนที่ 6,7,8,9 และ 13 สมมติว่าไหมพรมเส้นหนาเป็นขาหลอก 




****************************************************************

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอน
อาจารย์เข้าสอน : 08.45 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.20 น

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   - นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

กังหันไฟฟ้าสถิตย์


อุปกรณ์ที่ใช้
     1. กระดาษ A4 1 แผ่น
     2. กรรไกร
     3. ลูกโป่ง
     4. ดินน้ำมัน

วิธีทำ

    1. พับครึ่งกระดาษ A4 จำนวน 2 ครั้ง

   2. ใช้กรรไกรตัดกระดาษที่พับแล้ว เป็นมุมแหลม เมื่อคลี่ออก จะได้เป็นรูปดาวสี่แฉก

3. ปักดินสอลงบนก้อนดินน้ำมัน ให้ปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน


4. วางดาวกระดาษบนปลายดินสอ ( เนื่องจากปลายดินสอมีพื้นที่น้อย จะมีแรงเสียดทานกับกระดาษน้อย ทำให้ดาวกระดาษสามารถหมุนไปรอบๆ ได้อย่างง่ายดาย)


5. เป่าลูกโป่ง ไม่ต้องให้ใหญ่มากก็ได้


วิธีเล่น
          ใช้มือจับลูกโป่ง ถูกับผมสัก 5 ถึง 10 ครั้ง แล้วนำลูกโป่งมาหมุนรอบดาวกระดาษอย่างช้าๆ ระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษ


สรุป
               เมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่ง จะดึงดูด ประจุบวก บนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษ หมุนตาม


ทักษะที่ได้รับ
       
     1. การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
     2. การคิดอย่างมีเหตุผล 

การนำไปประยุกต์ใช้

     1. นำสิ่งประดิษฐ์ต่างมาใช้ในการสอนเด็กได้ เพราะแต่ละชิ้นใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการเล่น
     2. นำสิ่งประดิษฐ์ที่นำเสนอไปใช้ให้เกิดประโยชน์และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน : 08.35 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.20 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   -  นำของเล่นมาให้ดู เกี่ยวกับเรื่องของแสง


   - แจกกระดาษคนละ 2 แผ่น จากนั้นแบ่งเป็น 8 ส่วน แล้วให้ตัดออก เย็บไว้รวมกัน และวาดรูป 


- ดู VCD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ 



** การดื่มน้ำจะช่วยชดเชยสิ่งที่เหงื่อใช้ไป **

คุณสมบัติของน้ำ
   1. ของแข็ง เช่น ... น้ำแข็ง
   2. ของเหลว เช่น ... น้ำที่ใช้อาบ
   3. ก๊าซ เช่น ... ไอน้ำ

** ของแข็ง สามารถเปลี่ยนเป็น ของเหลว หรือของ เหลว สามารถเปลี่ยนไปเป็น ก๊าซได้ 

ฝน คือ ... ไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของความเย็นในชั้นบรรยากาศ

  - น้ำจะระเหยเมื่อได้รับความร้อน โดนจะระเหยเฉพาะผิวน้ำเท่านั้น  ถ้าแอ่งน้ำมีหน้ากว้างก็จะระเหยไว้กว่าแอ่งน้ำที่มีความแคบ
  - สสารทุกชนิดมีโมเลกุลเป็นส่วนประกอบ  เมื่อนำน้ำไปแช่ตู้เย็น โมเลกุลจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12 % 
  - น้ำเกลือมีความหนาแน่น มากกว่า น้ำธรรมดา
   
แรงดันของน้ำ
  *น้ำอยู่ลึก ความกดดันยิ่งมามาก*

แรงดันของน้ำมีไม่เท่ากัน 
     1. บนสุด -> แรงกดน้อย
     2. ล่างสุด -> แรงกดมาก

แรงตึงผิว
     เมื่อผิวของน้ำสัมผัสกับบรรยากาศโมเลกุลของน้ำจะจับตัวบนผิวน้ำทำให้ไม่จม


ทักษะที่ได้รับ

       1. ความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับน้ำ
       2. การทดลองเรื่องของน้ำ

การนำไปประยุกต์ใช้

     1. นำึความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็ก
     2. นำความรู้ไปประดิษฐ์สื่อที่เกี่ยวกับน้ำ





   

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน : 10.00น. (เนื่องจากติตภาระกิจทางราชการ)
นักศึกษาเข้าเรียน  : 08.30 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

 - ให้นักศึกษาดู VCD เรื่อง .. ความลับของแสง

     แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่ง และเคลื่อนที่ได้เร็ว แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้

การทดลอง   การมองเห็นของแสง

  ใช้กล่องใบใหญ่ เจาะรู 1 รู จากนั้นนำของที่ใส่ไปในกล่องแล้วมองเข้าไปในรูที่ได้เจาะเอาไว้

สรุปผลการทดลอง
      เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้  เพราะแสงส่องโดนวัตถุ แต่แสงต้องสะท้อนเข้าสู่ตาของเรา อีกอย่างตาก็เป็นการรับแสงเช่นกัน


แสง มีความสำคัญ ถ้าไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น

การทดลอง   การเดินทางของแสง
    1. ใช้กระดาษเข็งตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า เท่ากัน 2 แผ่น เท่ากัน
    2. เจาะรูตรงกลางแผ่นกระดาษทั้ง 2 แผ่น เท่ากัน
    3. ทดลองโดยการใช้ไฟฉายส่องไปที่กระดาษทั้งสองแผ่น  โดยกระดาษทั้งสองแผ่นตั้งขนานกับพื้นซ้อนกันในระยะที่ห่างพอสมควร

สรุปผลการทดลอง
      แสงเดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง


ประโยชน์ของแสง

     1. การเคลื่อนที่ของแสง -> กล้องถ่ายภาพ
     2. การสะท้อนของแสง -> การทดลอง
                                          -> เงาในกระจก
คุณสมบัติของแสง
  1. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
  2. การหักเหของแสง
 

  3. การสะท้อนของแสง


  4. การกระจายของแสง


ทักษะที่ได้รับ
   1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของแสง
   2. การทดลองต่างๆที่ได้ชมใน VCD

การนำไปประยุกต์ใช้
    1. นำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการทำสื่อ หรือของเล่นให้แก่เด็ก
    2. คิดวิธีการทดลองที่แปลกใหม่

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 18 มิถุนายน 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน 08.25 น.
นักศึกษาเข้าเรียน  08.20 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับ

      -  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้
                 1.) ความหมายของวิทยาศาสตร์
                 2.) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                 3.) พัฒนาการทางสติปัญญา  (*หัวข้อที่ได้รับมอบหมาย)
                 4.) การเรียนรู้
                 5.) แนวความคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                 6.) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     ** โดยให้แต่ละคนในกลุ่มอ่านและทำความเข้าใจในทุกหัวข้อ จากนั้นได้มอบหมายให้กลุ่มละ 1 หัวข้อ แล้วให้ส่งตัวแทน 1 คนต่อกลุ่มให้ไปฟังความคิดเห็น หรือการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อที่เราได้ ของกลุ่มอื่นๆ

พัฒนาการทางสติปัญญา
  - ความสามารถในการคิด
  - การมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  - ทำให้รู้จัก "ตน"



    
สมาชิกในกลุ่ม 3 (พัฒนาการทางสติปัญญา)



ทักษะที่ได้รับ

   - เทคนิกการทำ Blog
   - วิธีการเรียนรู้ที่นอกจากการนั่งฟังอาจารย์ผู้สอนบรรยาย
   - การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้

   1. นำรูปแบบการนำเสนอที่ผิดพลาดมาแก้ไข้ในการนำเสนอครั้งต่อไป
   2. วิธีการจัดการเรียนรู้มีหลายวิธีสามารถนำไปเลือกใช้กับเด็กได้
   3. นำความรู้ที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็ก


สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 12 มิถุนายน 2556

การเรียนการสอน


องค์ความรู้ที่ได้รับ

   คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การใช้สื่อ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ การประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผลลัพธ์การเรียนรู้
  1. คุณธรรมจริยธรรม
  2. ความรู้
  3. ทักษะทางปัญญา
  4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  5. ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. การจัดการเรียนรู้

** การออกแบบการจัดการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ ความคาดหวัง

วิธีการหาแหล่งสนับสนุน หรือการหาความรู้จากแหล่งต่างๆ

  เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ คือ
             1.) ภาษา
             2.) คณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับ
    -  การใช้เทคโนโลยีในการทำแฟ้มสะสมงาน โดยใช้ Blog  
การนำไปประยุกต์ใช้

     1. ตั้งใจเรียนในรายวิชานี้ให้มากยิ่งขึ้น
     2. นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสื่อ