วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

วันที่  17 กรกฎาคม 2556

           หมายเหตุ    เนื่อจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ   จึงไม่มีการเรียนการสอน  แต่อารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้  คือให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และสื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมประสบการณ์


การทดลอง

เทียนไขดูดน้ำ 


อุปกรณ์ 
    1. เทียนไข                                    2. แก้วน้ำ
    3. จาน                                           4. ถ้วยใส่น้ำ
    5. ไม้ขีด หรือไฟแช๊ก                    6. สีผสมอาหาร

วิธีการทดลอง

    1. หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้เพื่อให้น้ำมีสีที่เราใส่ลงไป (เพื่อความชัดเจนในการมองเห็น)
    2. เทน้ำที่ผสมสีลงไปในจานที่เตรียมไว้
    3. นำเทียนไปวางตรงกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
    4. นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่จนเทียนดับ แล้วสังเกตว่าน้ำรอบๆแก้วจะไหลขึ้นไปด้านในแก้ว

สรุปผลการทดลอง

       สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะ เมื่อออกซิเจนที่มีภายในกูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด  ทำให้น้ำและออกซิเจนที่อยู่ด้านนอกจะถูกดันเข้าไปแทนที่อากาศข้างในแก้ว
         
********************************************************************************

สื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมประสบการณ์

สัตว์เลื้อยคลาน


อุปกรณ์ที่ใช้
     1. แถบกระดาษขนาด 1 x 11 นิ้ว   1 แถบ       2. กรรไกร               3.ปากกาเึคมีสีดำ
     4. ไม้บรรทัด                                                  5. เทปกาวใส          6. ด้ายทักโครเชต์เบอร์ 10
     7. ไหมพรมทักนิตติ้ง

วิธีการทำ
   1. พับแถบกระดาษทบครึ่ง 4 ครั้ง โดยจับปลายด้านสั้นทบเข้าหากัน เสร็จแล้วคลี่กระดาษออก

   2.ตัดปลายด้านหนึ่งของแถบกระดาษทิ้งไป 2 ช่อง
   3. พับแถบกระดาษใหม่อีกครั้งให้เป็นรอยจีบเหมือน แอ็กคอร์เดียน ตลอดความยาวของกระดาษ 

   4. จับกระดาษที่ทบเสร็จเรียบร้อย  แล้ววาดเส้นโค้ง 2 เส้นกับเขียนจุด 12 จุด  ที่ช่องปลายด้านหนึ่งตามตัวอย่าง  ช่องนี้จะสมมติเป็นหัวของหนอน จุด 12 จุดแทนลูกตาที่บนหัว

  5. พับตามแนวเส้นโค้งทั้ง 2 เส้นที่วาดบนกระดาษ ตัดให้ทะลุกระดาษทุกชั้นที่พับทบไว้
  6. คลี่กระดาษออก แล้วเขียนหมายเลขกำกับลำตัวแต่ละท่อนโดยเริ่มจากช่องที่อยู่ติดกับหัว จาก 1 -13
  7. ตัดด้ายทักโครเชต์ยาว 2 นิ้ว 3 เส้น และไหมพรมยาว 1.25 นิ้ว 3 เส้น
  8. ใช้เทปใสแปะด้ายถักพาดขวางบนลำตัว 3 ท่อนแรกท่อนละเส้น  สมมติว่าด้ายถักนี้เป็นขาจริงๆ ของหนอน
  9. ใช้เทปใสแปะเส้นไหมพรมพลาดขวางบนลำตัวท่อนที่ 6,7,8,9 และ 13 สมมติว่าไหมพรมเส้นหนาเป็นขาหลอก 




****************************************************************

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอน
อาจารย์เข้าสอน : 08.45 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.20 น

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   - นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

กังหันไฟฟ้าสถิตย์


อุปกรณ์ที่ใช้
     1. กระดาษ A4 1 แผ่น
     2. กรรไกร
     3. ลูกโป่ง
     4. ดินน้ำมัน

วิธีทำ

    1. พับครึ่งกระดาษ A4 จำนวน 2 ครั้ง

   2. ใช้กรรไกรตัดกระดาษที่พับแล้ว เป็นมุมแหลม เมื่อคลี่ออก จะได้เป็นรูปดาวสี่แฉก

3. ปักดินสอลงบนก้อนดินน้ำมัน ให้ปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน


4. วางดาวกระดาษบนปลายดินสอ ( เนื่องจากปลายดินสอมีพื้นที่น้อย จะมีแรงเสียดทานกับกระดาษน้อย ทำให้ดาวกระดาษสามารถหมุนไปรอบๆ ได้อย่างง่ายดาย)


5. เป่าลูกโป่ง ไม่ต้องให้ใหญ่มากก็ได้


วิธีเล่น
          ใช้มือจับลูกโป่ง ถูกับผมสัก 5 ถึง 10 ครั้ง แล้วนำลูกโป่งมาหมุนรอบดาวกระดาษอย่างช้าๆ ระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษ


สรุป
               เมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่ง จะดึงดูด ประจุบวก บนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษ หมุนตาม


ทักษะที่ได้รับ
       
     1. การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
     2. การคิดอย่างมีเหตุผล 

การนำไปประยุกต์ใช้

     1. นำสิ่งประดิษฐ์ต่างมาใช้ในการสอนเด็กได้ เพราะแต่ละชิ้นใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการเล่น
     2. นำสิ่งประดิษฐ์ที่นำเสนอไปใช้ให้เกิดประโยชน์และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน : 08.35 น.
นักศึกษาเข้าเรียน : 08.20 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

   -  นำของเล่นมาให้ดู เกี่ยวกับเรื่องของแสง


   - แจกกระดาษคนละ 2 แผ่น จากนั้นแบ่งเป็น 8 ส่วน แล้วให้ตัดออก เย็บไว้รวมกัน และวาดรูป 


- ดู VCD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ 



** การดื่มน้ำจะช่วยชดเชยสิ่งที่เหงื่อใช้ไป **

คุณสมบัติของน้ำ
   1. ของแข็ง เช่น ... น้ำแข็ง
   2. ของเหลว เช่น ... น้ำที่ใช้อาบ
   3. ก๊าซ เช่น ... ไอน้ำ

** ของแข็ง สามารถเปลี่ยนเป็น ของเหลว หรือของ เหลว สามารถเปลี่ยนไปเป็น ก๊าซได้ 

ฝน คือ ... ไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของความเย็นในชั้นบรรยากาศ

  - น้ำจะระเหยเมื่อได้รับความร้อน โดนจะระเหยเฉพาะผิวน้ำเท่านั้น  ถ้าแอ่งน้ำมีหน้ากว้างก็จะระเหยไว้กว่าแอ่งน้ำที่มีความแคบ
  - สสารทุกชนิดมีโมเลกุลเป็นส่วนประกอบ  เมื่อนำน้ำไปแช่ตู้เย็น โมเลกุลจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12 % 
  - น้ำเกลือมีความหนาแน่น มากกว่า น้ำธรรมดา
   
แรงดันของน้ำ
  *น้ำอยู่ลึก ความกดดันยิ่งมามาก*

แรงดันของน้ำมีไม่เท่ากัน 
     1. บนสุด -> แรงกดน้อย
     2. ล่างสุด -> แรงกดมาก

แรงตึงผิว
     เมื่อผิวของน้ำสัมผัสกับบรรยากาศโมเลกุลของน้ำจะจับตัวบนผิวน้ำทำให้ไม่จม


ทักษะที่ได้รับ

       1. ความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับน้ำ
       2. การทดลองเรื่องของน้ำ

การนำไปประยุกต์ใช้

     1. นำึความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็ก
     2. นำความรู้ไปประดิษฐ์สื่อที่เกี่ยวกับน้ำ





   

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน 2556

การเรียนการสอน

อาจารย์เข้าสอน : 10.00น. (เนื่องจากติตภาระกิจทางราชการ)
นักศึกษาเข้าเรียน  : 08.30 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

 - ให้นักศึกษาดู VCD เรื่อง .. ความลับของแสง

     แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่ง และเคลื่อนที่ได้เร็ว แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้

การทดลอง   การมองเห็นของแสง

  ใช้กล่องใบใหญ่ เจาะรู 1 รู จากนั้นนำของที่ใส่ไปในกล่องแล้วมองเข้าไปในรูที่ได้เจาะเอาไว้

สรุปผลการทดลอง
      เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้  เพราะแสงส่องโดนวัตถุ แต่แสงต้องสะท้อนเข้าสู่ตาของเรา อีกอย่างตาก็เป็นการรับแสงเช่นกัน


แสง มีความสำคัญ ถ้าไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น

การทดลอง   การเดินทางของแสง
    1. ใช้กระดาษเข็งตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า เท่ากัน 2 แผ่น เท่ากัน
    2. เจาะรูตรงกลางแผ่นกระดาษทั้ง 2 แผ่น เท่ากัน
    3. ทดลองโดยการใช้ไฟฉายส่องไปที่กระดาษทั้งสองแผ่น  โดยกระดาษทั้งสองแผ่นตั้งขนานกับพื้นซ้อนกันในระยะที่ห่างพอสมควร

สรุปผลการทดลอง
      แสงเดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง


ประโยชน์ของแสง

     1. การเคลื่อนที่ของแสง -> กล้องถ่ายภาพ
     2. การสะท้อนของแสง -> การทดลอง
                                          -> เงาในกระจก
คุณสมบัติของแสง
  1. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
  2. การหักเหของแสง
 

  3. การสะท้อนของแสง


  4. การกระจายของแสง


ทักษะที่ได้รับ
   1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของแสง
   2. การทดลองต่างๆที่ได้ชมใน VCD

การนำไปประยุกต์ใช้
    1. นำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการทำสื่อ หรือของเล่นให้แก่เด็ก
    2. คิดวิธีการทดลองที่แปลกใหม่